ร่วมเป็นกำลังใจ ให้กับ โครงการดี ๆ 3 โครงการจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ในงาน "งานแสดงผลงานและนำเสนอ โครงการพัฒนาที่ยั่งยืนของนิสิตนักศึกษา ประจำปี 2566"
2023 Rakkaew Foundation National : Exposition University Sustainability Showcase"
ในวันที่ 8-9 กันยายน 2566
เวลา 10:00 - 19:00
ลานโปรโมชั่น ชั้น G สามย่านมิตรทาวน์
งานนี้เป็นโอกาสที่ดีที่จะได้พบกับผลงานโครงการพัฒนาของนิสิตนักศึกษา จากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ที่ร่วมขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับสังคม ไม่ว่าจะเป็นโครงการด้านการศึกษา สิ่งแวดล้อม หรือนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ และพลังของนิสิตนักศึกษา
มูลนิธิรากแก้วเชื่อมั่นในพลังอันยิ่งใหญ่ของเยาวชนที่จะนำพาสังคมให้ยั่งยืน
3 โครงการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ทีี่เข้าร่วมในงาน ได้แก่
SoChange&SoCHAMP
กลุ่มนักศึกษา SoChange (Social Change) ได้รวบรวมนักศึกษาที่มีความสนใจในการทํากิจกรรมเพื่อสังคมในพื้นที่ห่างไกลร่วมกับ KMUTT Social Lab กว่า 30 คน จาก 4 คณะ 8 ภาควิชา มาร่วมกันนําความรู้และประสบการณ์ มาพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนรวมทั้งผู้คนในสังคม อาทิ โครงการค่ายอาสาสร้างแรงบันดาลใจทางการศึกษา โครงการบ่มเพาะเมล็ดสําหรับเด็กและเยาวชนของกองทุนเพื่อการศึกษา เรียนรู้
และสร้างอาชีพ เป็นต้น เพื่อนําไปสู่การพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนตาม Sustainable Development Goals (SDGs)
ฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพคนพิการ “เฮ็ดดิคราฟ”
โครงการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพผู้พิการ “เฮ็ดดิคราฟ” เป็นหนึ่งในโครงการฝึกและพัฒนาทักษะผู้พิการเพื่อเตรียมความพร้อมการประกอบอาชีพในสถานประกอบการ และการประกอบอาชีพอิสระ ดำเนินการโดยศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง สำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่จัดมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 10 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้พิการให้มีความพร้อมทั้งทักษะการทำงาน การปรับตัว และการอยู่ร่วมกัน
จานใบไม้ : การอบรมทักษะนวัตกรและผู้ประกอบการเชิงวัฒนธรรมเส้นใยธรรมชาติ
โครงการนี้มุ่งหวังที่จะรือฟื้นภูมิปัญญาการใช้ชีวิตกับป่า และความเข้าใจธรรมชาติของชาติพันธ์ุกะเหรี่ยงขึ้นมาอีกครั้งเพื่อช่วยแก้หรือบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น ผลของกิจกรรมช่วยทําให้ให้อัตลักษณ์และการรับรู้ของคนภายนอกที่มีต่อชุมชนบางกะม่าว่าเป็นชุมชนกะเหรี่ยงที่เก่าแก่และมีประชากรในพื้นที่เกือบทั้งหมดเป็นชาติพันธ์ุนั้นชัดเจนมากขึ้นผ่านการนําเสนอสินค้า บริการ และพื้นที่ทางวัฒธรรมของชุมชนบางกะม่า