เพื่อหารือเตรียมความพร้อมการลงตรวจเยี่ยมพื้นที่โครงการ ส่งเสริมและพัฒนาการ พูด อ่าน เขียนภาษาไทย ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตะโกปิดทองและโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านถ้ำหิน จังหวัดราชบุรี
ด้วยสถานการณ์ปัญหาคุณภาพโรงเรียนในประเทศไทยที่มีความแตกต่างกันระหว่างนักเรียนในโรงเรียนชนบทกับโรงเรียนในเมือง ถูกซ้ำเติมด้วยปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) ทำให้อัตราการหลุดจากระบบการศึกษาของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงมีแนวโน้มสูงขึ้น และภาพรวมของประเทศที่นักเรียนเกิดภาวการณ์เรียนรู้ถดถอย (Learning loss) เนื่องจากการไม่สามารถเรียนรู้ได้เต็มที่เหมือนกับการเรียนรู้แบบไปโรงเรียน ซึ่งส่งผลอย่างมากต่อทักษะการเรียนรู้และทักษะการเข้าสังคม และปัญหาที่พบในโรงเรียนถิ่นทุรกันดาร
ครูแบกรับภาระการสอนนักเรียนจำนวนมาก ทำให้ดูแลนักเรียนไม่ทั่วถึง รับภาระงานหลายด้าน ทำให้การสอนไม่ต่อเนื่องและไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการอ่าน การพูด และการเขียนภาษาไทย
การแก้ไขปัญหา นักเรียนด้านการอ่าน การพูด และการเขียนภาษาไทยโดยเฉพาะในถิ่นทุรกันดาร จึงเกิด โครงการส่งเสริมและพัฒนาการพูด อ่าน เขียน ภาษาไทย (Mobility of Volunteer educations : MOVE) โรงเรียนในโครงการพระราชดำริความร่วมมือระหว่าง สภากาชาดไทย มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี กสศ. และสถาบันอุดมศึกษาฯ
MOVE มีเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาการอ่านออกเขียนไม่ได้ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการต่อยอดจากงานที่มีอยู่เดิมในแต่ละพื้นที่ เป็นการระดมทรัพยากรให้สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่
พื้นที่ที่มีปัญหาปัญหาค่าการวัดผลอยุ่ในระดับต่ำ 10 จังหวัด คือ กาญจนบุรี เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี และราชบุรี รวม 188 โรงเรียน
เป็นการทำงานบนความร่วมมือระหว่าง สภากาชาดไทย มูลนิธิรางวัล สมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี มหาวิทยาลัย และกองทุนเพื่อความ เสมอภาคทางการศึกษา
ด้วยกลไกของ “ครูอาสาสมัคร” เพื่อให้ได้รูปแบบและวิธีการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านอ่าน พูด และเขียน ไทย ของนักเรียนในถิ่นทุรกันดาร ควบคู่ไปกับการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กมีนิสัยรักการอ่าน สร้างประสบการณ์ในการเขียน สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ให้กับเด็กนักเรียนในถิ่นทุรกันดาร