#เด็กและเยาวชนชายขอบ #โครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

โครงการอ่านพูดเขียนไทย MOVE โรงเรียนในโครงการพระราชดำริ: พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน

By admin   24 Jan 2022

"จาก โครงการพูดอ่านเขียนไทย สู่ โครงการเอาโรงเรียนไปหาเด็ก" โครงการอ่านพูดเขียนไทย MOVE โรงเรียนในโครงการพระราชดำริ

ระหว่าง วันที่ 24 - 26 มกราคม 2565

นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้เข้าร่วม การประชุมติดตามงานโรงเรียนในโครงการอ่านพูดเขียนไทย MOVE โรงเรียนในโครงการพระราชดำริ เป็นความร่วมมือระหว่างสภากาชาดไทย มูลนิธิรางวัลครูสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี  กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการศึกษาในพื้นที่ เพื่อแก้ไขปัญหาการอ่าน พูด เขียน ไทย ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผ่านกลไกของ “ครูอาสาสมัคร”
ต้นปี 2563 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  มีพระราชดำริให้มีถุงยังชีพพระราชทานเพื่อการศึกษา ให้นักเรียนชนบท (ตชด. และสพฐ.) ได้เรียนหนังสือในช่วงโรงเรียนขยายการปิดเรียนจากปัญหาโควิด-19  ที่ต้องมีการเว้นระยะห่างทางสังคม และเวลาเรียนที่สั้นลง ความเข้มข้นน้อยลง  เกิดการสูญเสียการเรียนรู้ Lerning Losses

มจธ. สนับสนุนครูและอาสาสมัครการศึกษา ลงชุมชนกะเหรี่ยงชายแดนประเทศเมียนมาร์ เขตอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี สอนหนังสือนักเรียนในช่วงปิดภาคเรียน 6 อาทิตย์ ต่อมาได้ให้อาสาสมัครช่วยครูในโรงเรียน 5 แห่ง เมื่อโรงเรียนเปิดภาคเรียนเทอม 1/2563 ที่ต้องมีการเว้นระยะห่าง Social distancing
"โรงเรียนปิด แต่การศึกษาเปิด การเรียนรู้เปิด"

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริครั้งที่ 2 ในการประชุมกรรมการสภากาชาดไทย วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2563 มีพระราโชบายให้สำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาด สภากาชาดไทย ทำโครงการส่งเสริมและสนับสนุนพัฒนาการเรียนรู้เด็กและเยาวชนถิ่นถุรกันดาร โดยให้ความสำคัญในเบื้องต้นแก่นักเรียนที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ คิดเลขไม่ได้
โดยยึดแนวทางทำงาน ดังนี้

1. สนับสนุนให้ครูในโรงเรียน สามารถสอนภาษาไทยได้ดีขึ้น
2. มีครูภาษาไทย ครูปฐมวัย และอาสาสมัครในพื้นที่ให้การสนับสนุน โดยเฉพาะครูและอาสาสมัครที่พูดภาษาถิ่นได้
3. การสนับสนุนเป็นไปตามความต้องการของโรงเรียนและครูในโรงเรียน
4. ใช้สื่อการเรียนรู้ที่มีอยู่ พัฒนาเพิ่มเติมจากสื่ออื่น

ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาพัฒนาและวิธีการสอนเพิ่มเติม เพื่อการสอนภาษาไทยสำหรับนักเรียนที่ใช้ภาษาถิ่น, นักเรียนที่เรียนช้า, โปรแกรมการเรียนภาษาไทยทางวิทยุ-โทรทัศน์-ดิจิตัลมีเดีย

















ถ้ามีผู้สนใจเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครการศึกษา เพื่อนักเรียนพื้นที่ห่างไกลให้อ่านออกเขียนได้ ติดต่อ ศูนย์ส่งเสริมและสนับสนุนมูลนิธิโครงการหลวงและโครงการตามพระราชดำริ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โทร 02-470-9682






ร่วมสร้างโอกาสทางการศึกษา