สำหรับชุมชนชาติพันธ์บนพื้นที่สูงแล้ว ความยากลำบากของการเดินทาง ข้อจำกัดการรับรู้ภาษาไทยและข้อปฏิบัติตามวิถีชนเผ่าที่ขัดแย้งกับการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องตามหลักการแพทย์ เป็นข้อจำกัดสำคัญที่ทำให้ชุมชนชาติพันธ์ในพื้นที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงและได้รับการบริการสาธารณสุขที่ถูกต้องเหมาะสมจากภาครัฐ
แนวทางที่เป็นไปได้คือการสร้างความสามารถในการพึ่งพาตนเองโดยการสร้าง “หมอบ้าน” จากคนในชุมชนให้มีความสามารถเป็นด่านแรกของการบริการและแก้ปัญหาสุขภาพมูลฐาน สามารถเชื่อมโยงกับ “หมออนามัย” ที่เป็นเจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) และ “หมอโรงพยาบาลชุมชน” ได้หากเกิดความจำเป็น
ปี 2565 – 2566 คณะทำงานได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เพื่อพัฒนาสมรรถนะซุปเปอร์ อสม. บนพื้นที่ทุรกันดาร ซึ่งเป็นการยกระดับความสามารถของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ที่เป็นกลไกสำคัญของหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ให้มีความสามารถในการช่วยชีวิตผู้ป่วยวิกฤติและปฐมพยาบาลเบื้องต้น การประเมินอาการเบื้องต้นของผู้ป่วย และการตัดสินใจส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานบริการสาธารณสุขใกล้เคียงได้อย่างเหมาะสม
Admin
Admin KMUTT SOCIAL LAB
Admin KMUTT SOCIAL LAB