#โครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

ติดตามผลการดำเนินงาน พื้นที่ห้องปฏิบัติการทางสังคม Social Engagement จังหวัดน่าน

By admin   05 Jun 2024

ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ที่ปรึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ติดตามผลการดำเนินงาน พื้นที่ห้องปฏิบัติการทางสังคม Social Engagement จังหวัดน่าน



ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ที่ปรึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ติดตามผลการดำเนินงาน พื้นที่ห้องปฏิบัติการทางสังคม Social Engagement จังหวัดน่าน


ระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม – 3 มิถุนายน 2567 ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ที่ปรึกษามหาวิทยาลัย เดินทางพร้อมด้วย นาย ศุเรนทร์ ฐปนางกูร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและสนับสนุนมูลนิธิโครงการหลวงและโครงการตามพระราชดำริ มจธ. ติดตามผลการดำเนินงานในพื้นที่ห้องปฏิบัติการทางสังคม Social Engagement จังหวัดน่าน โดยมีนาย มนต์ชัย นีซัง ผู้จัดการพื้นที่จังหวัดน่านและนักวิจัยที่เกี่ยวข้องร่วมเดินทางมีประเด็นการติดตามงานดังนี้


ก) งานพูด อ่าน เขียนไทย ร่วมกับ ผศ.ดร. สิทธิกร สุมาลี อาจารย์จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เยี่ยมโรงเรียนในพื้นที่ ได้แก่ โรงเรียนบ้านน้ำตวง, โรงเรียนบ้านปางแก, โรงเรียนมณีพฤกษ์และโรงเรียน ตชด. บ้านห้วยลู่ จ.น่าน ทั้งหมดเป็นนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ ม้ง ลัวะและมละบริ พบว่ามีปัญหาที่คล้ายคลึงกันคือ นอกเวลาเรียนนักเรียนจะใช้ภาษาถิ่นของตนเองในการสื่อสาร การเรียนรู้ภาษาไทยจึงไม่ต่อเนื่อง ประเด็นในการพัฒนาต่อเป็นเรื่องสื่อการเรียนที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้เป็นสื่อเสริมสำหรับเด็กที่มีปัญหาเฉพาะอย่างเหมาะสม






ข) การพัฒนา “Growth Center” เป็นศูนย์การพัฒนานักเรียนและติดตามผลอย่างต่อเนื่องระยะยาว 12 ปี ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา - มัธยมศึกษา โดยจะเริ่มนำร่องในโรงเรียนบ้านบ่อหลวง (ประถมศึกษา) และ โรงเรียนบ่อเกลือ (มัธยมศึกษา) อ.บ่อเกลือ จ.น่าน ภายใต้แนวคิด “ไทย เลข เลิศ” ให้นักเรียนมีพื้นฐานภาษาและคณิตศาสตร์ที่ดี ต่อยอดไปสู่การเรียนรู้อื่นๆ ได้ มีการเชื่อมต่อไปสู่การทำงานแบบอาสาสมัครการศึกษาของคนในพื้นที่ อาจารย์และนักศึกษา มจธ. ที่สนใจ เกิดเป็นจุดเริ่มต้นการเรียนรู้ต้นแบบขยายผลให้ครอบคลุมในพื้นที่ทุรกันดาร


ค) ข้อคิดเห็นของ ดร. กฤษณพงศ์ เรื่องการทำงานในพื้นที่ Social Engagement มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจประวัติศาสตร์และบริบทที่เกี่ยวข้อง โดยศึกษาจากหนังสือ ชาวบ้าน เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเดิมในพื้นที่ เมื่อเข้าใจภาพทั้งหมดจะสามารถเข้าใจชุมชนได้ จะส่งผลให้เกิดการทำงานได้ดี

“การแก้ปัญหาความยากจน หรือยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวบ้านนั้น การศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ การศึกษาที่ดีจะช่วยให้คนมีความคิด มีการตัดสินใจทำอะไรได้ดี คนที่มีความรู้จะช่วยส่งเสริมให้ครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีการวางแผนชีวิตที่ดีมากขึ้น การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและความยากจนจึงจะสำเร็จ”


ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร
กล่าวให้ความเห็นเกี่ยวกับหลักการทำงานที่สำคัญ








ทั้งนี้คณะทำงานควรมีการทำงานอย่างต่อเนื่อง สร้างเครือข่ายทำงานทั้งภาควิชาการและภาคประชาสังคม ช่วยกันสร้างสรรค์งานที่มี
คุณค่า ให้เกิดการทำงาน
ที่ส่งผลกระทบในเชิงบวกและเป็นรูปธรรมต่อชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป


ร่วมสร้างโอกาสทางการศึกษา