การสร้างสรรค์โครงการและบทความวิชาการจากกรอบการศึกษามานุษยวิทยาและสังคมวิทยาประยุกต์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
วันที่ 19 – 21 กุมภาพันธ์
คณะทำงาน Social Engagement ศูนย์ส่งเสริมและสนับสนุนมูลนิธิโครงการหลวงและโครงการตามพระราชดำริ มจธ. นำโดย
Dr. Scott Bamber ที่ปรึกษาห้องปฏิบัติการและนักวิจัยภาคสนามของศูนย์ความร่วมมือ มทร. และ มจธ.ฯ เพื่อกิจกรรมวิชาการนำโดย
คุณ บวรศักดิ์ เพชรานนท์, คุณ แสงธิฌา ดวงประภา และคุณ ธัญญ์วรา กติกาโชคสกุล ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ทำงานภาคสนามที่เกี่ยวข้องกับ
การพัฒนาคุณภาพชีวิต ในมิติของสุขภาวะ ความมั่นคงด้านอาหารและการพึ่งตนเองของกลุ่มชาติพันธุ์ ในพื้นที่ อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลในพื้นที่นำมาวิเคราะห์ในกรอบแนวคิดการทำงานในระดับสากลพบประเด็นที่น่าสนใจและสามารถพัฒนาต่อได้ดังนี้
ก) การนำกรอบคิดเรื่อง Theory of Change, Problem Tree และ Logical Framework มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน สามารถสร้างสรรค์โครงการที่เป็นความจำเป็นเรื่องสุขภาวะของคนในพื้นที่ เช่น “การลดความดันโลหิตสูงของกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ อ.อมก๋อย ผ่านการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีรสชาดเค็ม”
ข) การใช้กรอบคิด Theory of Change มาประยุกต์ใช้ในการเขียนบทความวิชาการที่นักวิจัยภาคสนามมีข้อมูล เช่น “Health Seeking Behavior: พิธีกรรมของคนกะเหรี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ” “Syncretic: การปรับเปลี่ยนความเชื่อ, พฤติกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงเพื่อความมั่นคงด้านอาหาร
ทั้งนี้มีความเห็นร่วมกันว่า ควรทำอย่างไรให้งานในพื้นที่สามารถเชื่อมโยงกับนโยบายหรือยุทธศาสตร์การทำงานด้านวิชาการของมหาวิทยาลัยได้ เมื่อเกิดการเชื่อมโยงทางโจทย์ของการทำงาน จะเกิดการพัฒนาการทำงานร่วมกันระหว่างนักวิจัยภาคสนาม กับ อาจารย์และนักวิชาการที่อยู่ภายในมหาวิทยาลัยได้ เป็นแนวทางในการสร้างให้เกิด Social Engagement ของมหาวิทยาลัยต่อไป